ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ข้าว, ข้าวไร่, ข้าวจ้าว
ข้าว, ข้าวไร่, ข้าวจ้าว
Oryza sativa L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Poaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Oryza sativa L.
 
  ชื่อไทย ข้าว, ข้าวไร่, ข้าวจ้าว
 
  ชื่อท้องถิ่น - ลำซา(ลั้วะ), หย่อซิ(เมี่ยน) - ข้าวเจ้า (ทั่วไป), ข้าวไข่แมงดา, ข้าวคอแร้ง, ข้าวเหนียวปิ้ง (อ่างทอง), ข้างนึ่ง (เหนือ), ข้าวเหนียว (กลาง), มือตู่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน),หรือข้าวกล้อง [3]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ เป็นพืชน้ำล้มลุกเขตร้อน ชอบขึ้นในที่ดินเหนียวมีน้ำท่วมขัง มีบางพันธุ์ที่สามารถขึ้นได้ในที่ดอนเรียกว่า ข้าวไร่ ข้าวมีลำต้นกลวงและแตกตรงข้อเจริญเติบโตแบบแตกกอ ใบยาวเรียวสากคายเหมือนใบตะไคร้หรือใบคา ดอกออกเป็นช่อดอกรวมที่ปลายยอด เรียกว่า รวงข้าว ผลหรือเมล็ดเมื่อยังอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเหลืองทอง ลักษณะที่สำคัญของข้าวแบ่งออกได้เป็นลักษณะที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตและลักษณะที่เกี่ยวกับการขยายพันธุ์
ราก เป็นส่วนที่อยู่ใต้ผิวดิน มีรากพิเศษที่ขึ้นที่ข้อซึ่งอยู่เหนือพื้นดิน ต้นข้าวไม่มีรากแก้ว มีรากฝอยแตกแขนงกระจายอยู่ใต้ผิวดิน ลำต้นกลวงมีข้อและปล้องชัดเจน จำนวนปล้องประมาณ 20-25 ปล้อง ต้นสูงประมาณ 1-1.5 เมตร
ใบ มีกาบใบ (sheath petiole) หุ้มลำต้น และแผ่นใบ (laminar) บางแคบและยาวประมาณ 0.6-2.5 ซม. เส้นกลางใบ (mid rib)เห็นชัดเจน ปลายใบแหลมโคนใบเป็นกาบหุ้มรอบต้นยาวประมาณ 0.8-2.5 ซม. ผิวใบทั้งสองด้านและขอบใบมีขนสั้นๆ
ช่อดอก (inflorescence) เรียก รวง รวงข้าว (panicle) ซึ่งเกิดที่ข้ออันสุดท้ายของต้นข้าว ระยะระหว่างข้ออันบนของปล้องอันสุดท้ายกับข้อต่อของใบธง เรียกว่า คอรวง ดอกย่อยของข้าว ประกอบด้วยกลีบรองดอก (bract) สองแผ่นประสานกัน เพื่อห่อหุ่มส่วนของดอก กลีบแผ่นนอกเรียกว่า เลมมา (lemma) ส่วนกลีบแผ่นในเรียกว่า พาเลีย (palea) อาจมีขนหรือไม่มีขน
ผล เป็น caryopsis รูปไข่ปลายแหลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 มม. ยาว 0.6-1.5 ซม. ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สุกเต็มที่สีเหลืองทอง มีเมล็ดขาว เป็นส่วนของเอนโสเปิร์มเป็นแป้งที่บริโภค คัพภะเป็นส่วนที่มีชีวิต ส่วนของข้าวกล้องเป็นส่วนที่ผ่านการกะเทาะเปลือก (กลีบรองดอก : bract) ออก หรือผ่านการขัดสีครั้งเดียว มีสีขาวขุ่นหรือสีน้ำตาล มีส่วนของเปลือกผลซึ่งมีลักษณะเป็นเยื่อหุ้ม (รำข้าว) และจมูกข้าวรวมถึงเมล็ดอยู่ครบหรือเรียกว่าส่วนของผลข้าว ส่วนเมล็ดข้าวคือข้าวขาวที่ขัดสีเอาเปลือกผล (รำข้าว) ออกไปแล้ว [3]
 
  ใบ ใบ มีกาบใบ (sheath petiole) หุ้มลำต้น และแผ่นใบ (laminar) บางแคบและยาวประมาณ 0.6-2.5 ซม. เส้นกลางใบ (mid rib)เห็นชัดเจน ปลายใบแหลมโคนใบเป็นกาบหุ้มรอบต้นยาวประมาณ 0.8-2.5 ซม. ผิวใบทั้งสองด้านและขอบใบมีขนสั้นๆ
 
  ดอก ช่อดอก (inflorescence) เรียก รวง รวงข้าว (panicle) ซึ่งเกิดที่ข้ออันสุดท้ายของต้นข้าว ระยะระหว่างข้ออันบนของปล้องอันสุดท้ายกับข้อต่อของใบธง เรียกว่า คอรวง ดอกย่อยของข้าว ประกอบด้วยกลีบรองดอก (bract) สองแผ่นประสานกัน เพื่อห่อหุ่มส่วนของดอก กลีบแผ่นนอกเรียกว่า เลมมา (lemma) ส่วนกลีบแผ่นในเรียกว่า พาเลีย (palea) อาจมีขนหรือไม่มีขน
 
  ผล ผล เป็น caryopsis รูปไข่ปลายแหลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 มม. ยาว 0.6-1.5 ซม. ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สุกเต็มที่สีเหลืองทอง มีเมล็ดขาว เป็นส่วนของเอนโสเปิร์มเป็นแป้งที่บริโภค คัพภะเป็นส่วนที่มีชีวิต ส่วนของข้าวกล้องเป็นส่วนที่ผ่านการกะเทาะเปลือก (กลีบรองดอก : bract) ออก หรือผ่านการขัดสีครั้งเดียว มีสีขาวขุ่นหรือสีน้ำตาล มีส่วนของเปลือกผลซึ่งมีลักษณะเป็นเยื่อหุ้ม (รำข้าว) และจมูกข้าวรวมถึงเมล็ดอยู่ครบหรือเรียกว่าส่วนของผลข้าว ส่วนเมล็ดข้าวคือข้าวขาวที่ขัดสีเอาเปลือกผล (รำข้าว) ออกไปแล้ว [3]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ เมล็ด รับประทานเป็นอาหารหลัก(ลั้วะ,เมี่ยน)
- สรรพคุณความเชื่อ
ข้าว รสเย็นจืด ช่วยปรับรสชาติของอาหาร เป็นอาหารหลักของชาวเอเชีย และแป็นส่วนประกอบในยา
ข้าว มีทั้งข้าวสารเจ้า และข้าวสารเหนียว คำว่าข้าวสารมาจากภาษาอังกฤษว่า rice คำว่าสาร เป็นภาษาไทย แปลว่า ข้าวที่เอากลีบรองดอกและเปลือกผลออกแล้ว ส่วนข้าวกล้องเป็นผลข้าวที่เอาเฉพาะกลีบรองดอกออก คำว่า rice หมายถึงทั้งข้าวสารจ้าว และข้าวสารเหนียว คำว่าข้าวสารเหนียวให้ชัดลงไปเรียกว่า gluteneous rice ถ้าข้าวเปลือก ภาษามลายู เรียกว่า ปาดี ภาษาอังกฤษ เรียก แพดดี้ (Paddy)
ข้าวกล้องมีคุณค่าของโภชนาการสูง คาร์โบไฮเดรท โปรตีน วิตามิน ใยอาหาร แร่ธาตุ โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี ทองแดง ป้องกันอาการท้องผูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ เหน็บชา ปากนกกระจอก การหุงต้มใช้เวลานานกว่าข้าวขาว
รำข้าว เปลือกผลข้าว แก้โรคเหน็บชา รักษาเบาหวาน ข้าวเป็นอาหารหลักของชาวเอเชีย ส่วนของผลข้าวที่มีวิตามินบีมากเป็นส่วนของผลข้าวที่มีวิตามินบีมากเป็นส่วนของผลข้าวที่ติดกับเปลือก เวลานำข้าวมาสีส่วนของวิตามินบีจะอยู่ที่รำข้าวเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งวิตามินบีมีคุณสมบัติในการบำบัดโรคเหน็บชา โรค edema จะช่วยให้มีดการเจริญเติบโตดี
น้ำข้าว มีประโยชน์ทำให้เนื้อเยื่อภายในอ่อนนุ่ม แก้อาการอักเสบ แก้อาการขัดเบา เพื่อให้รสชาติดีขึ้นอาจเติมเกลือ มะนาว หรือน้ำตาล นอกจากนี้ยังใช้น้ำข้าวสวนทวารหนักสำหรับผู้ที่เป็นโรคท้องผูก เพื่อหล่อลื่นลำไส้ [3]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง